ความเป็นมาของมงคลสูตรคำฉันท์
มงคลสูตรคำฉันท์
เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าจ้าวอยู่หัว
มีเนื้อหาว่าด้วยมงคล ๓๘ อันเป็นพระสูตรหนึ่งในพระไตรปิฏก พระสุตตันตปิฏก
ขุททกนิกายหมวดขุททกปาฐะ
คำว่า “มงคล” หมายถึง
เหตุแห่งความเจริญก้าวหน้าหรือทางก้าวหน้า และ “สูตร” หมายถึง คำสอนในพระพุทธศาสนา
มงคลสูตร จึงหมายความว่า
พระธรรมหรือคำสอนในพระพุทธศาสนาที่นำมาซึ่งความสุขและความเจริญก้าวหน้า
ประวัติผู้แต่ง
ประวัติผู้แต่ง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์รัชกลที่
๖ แห่งพระบรมราชวงศ์จักรีตลอดระยาเวลา ๑๕ ปีที่ทรงครองราชย์ (พ.ศ. ๒๔๕๓ – ๒๔๖๘)
ทรงประกอบพระราชกรณียกิจเป็นอเนกประการ ทรงพระปรีชาสามารถทั้งด้านการทหาร
การปกครอง การต่างประเทศ เช่น บทละคร บทความ สารคดี นิทาน นิยาย เรื่องสั้น
และทรงใช้งานพระราชนิพนธ์เป็นสื่อแสดงแนวพระราชดำริในเรื่องต่างๆ
ลักษณะการแต่ง
มงคลสูตรคำฉันท์
เป็นวรรณคดีที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นโดยทรงนำคาถาภาษาบาลีที่เป็น “มงคลสูตร” ซึ่งอยู่ในพระไตรปิฏกมาแปลแล้วทรงเรียบเรียงแต่งเป็นบทประพันธ์ร้อยกรองที่มีสัมผัสคล้องจอง
ท่องจำง่าย และสามารถพรรณนาความได้อย่างไพเราะจับใจ โดยทรงใช้คำประพันธ์ ๒ ประเภท
คือ กาพย์ฉบัง ๑๖ และอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ โดยทรงลงท้ายคำประพันธ์ทุกบทด้วยข้อความเดียวกันว่า “ข้อนี้หละมงคล อดิเรกอุดมดี” ซึ่งมีที่มาจากคาถาภาษาบาลีที่ว่า
เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ
เนื้อเรื่อง
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมา สมฺพุทฺธสฺสฯ
(๑)
ยญฺจ ทฺวาทส วสฺสสานิ จินฺตยิสุ สเทวกา
สิบสองฉนำเหล่า นรอีกสุเทวา
รวมกันและตริหา สิริมังคลาใด
(๒)
จิรสฺสํ จินฺตยนฺตาปิ เนว ชานิ๐สุ มงคลคลํ
จกฺกวาฬสหสฺเสสุ ทสสุ เยน ตตฺตกํ
กาลํ โกลาหลํ ชาตํ ยาว พฺรหฺมนิเวสนา
เทวามนุษย์ทั่ว พหุภพประเทศใน
หมื่นจักรวาลได้ ดำริสิ้นจิรังกาล
แล้วยังบ่รู้มง- คละสมมโนมาลย์
ด้วยกาละล่วงนาน บ่มิได้ประสงค์สม
ได้เกิดซึ่งโกลา หละยิ่งมโหดม
ก้องถึงณชั้นพรหม ธสถิตสะเทือนไป
หมื่นจักรวาลได้ ดำริสิ้นจิรังกาล
แล้วยังบ่รู้มง- คละสมมโนมาลย์
ด้วยกาละล่วงนาน บ่มิได้ประสงค์สม
ได้เกิดซึ่งโกลา หละยิ่งมโหดม
ก้องถึงณชั้นพรหม ธสถิตสะเทือนไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น