วันอังคารที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2558

เรื่องมหาชติหรือมหาเวสสันดร

พุทธศาสนิกชนชาวไทยนับถือกันมาแต่ครั้งโบราณว่า มหาเวศสันดรเป็นชาดกที่สำคัญกว่าชาดกเรื่องอื่น เพราะว่าด้วยเรื่องราวที่ปรากฏบารมีของพระโพธิสัตว์อยู่โดยบนิบูรณ์ทั้ อ่านต่อ


บทที่ ๖ ทุกข์ของชาวนาในบทกวี

บทความเรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี มีที่มาจากหนังสือรวบรวมบทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่อง มณีพลอยร้อยแสง ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดฯให้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่ อ่านต่อ


บทที่ ๕ หัวใจชายหนุ่ม

หัวใจชายหนุ่ม เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงใช้พระนามแฝงว่า “รามจิตติ” เพื่อพระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ “ ดุสิ อ่านต่อ


บทที่ ๔ นิราศนรินทร์คำโคลง

นิราศ เป็นงานประพันธ์ประเภทหนึ่งของไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เท่าที่ปรากฏหลักฐานในปัจจุบั อ่านต่อ


บทที่ ๓ นิทานเวตาล เรื่องที่ ๑๐

นิทานเวตาล ฉบับนิพนธ์ พระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ มีที่มาจากวรรณกรรมสันสกฤตของอินเดีย  โดยมีชื่อเดิมว่า “เวตาลปัญจวิงศติ” ศิวทาสได้แต่งไว้ในสมัยโบราณ ต่อมาได้มีผู้ อ่านต่อ


บทที่ ๒ อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง

อิเหนา เป็นวรรณคดีที่ได้รับการยกย่องของบทละครลำ เพราะเป็นหนังสือซึ่งแต่งดีทั้งกลอน ทั้งความ และทั้งกระบวนการที่ตะเล่นละครประกอบการ และยังเป็นหนังสือที่ดี ในทางที่ตะศึกษาประเพณีไทยสมัยโบราณ  แม้บทละครเรื่องอิเหนาจะมีเค้าโคร อ่านต่อ


วันอังคารที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2558

มงคลสูตรคำฉันท์

ความเป็นมาของมงคลสูตรคำฉันท์
     มงคลสูตรคำฉันท์  เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าจ้าวอยู่หัว มีเนื้อหาว่าด้วยมงคล ๓๘ อันเป็นพระสูตรหนึ่งในพระไตรปิฏก พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกายหมวดขุททกปาฐะ            


      คำว่า  “มงคล” หมายถึง เหตุแห่งความเจริญก้าวหน้าหรือทางก้าวหน้า และ “สูตร” หมายถึง คำสอนในพระพุทธศาสนา มงคลสูตร จึงหมายความว่า พระธรรมหรือคำสอนในพระพุทธศาสนาที่นำมาซึ่งความสุขและความเจริญก้าวหน้า   

                                                                     
                                                             ประวัติผู้แต่ง





  ประวัติผู้แต่ง   พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์รัชกลที่ ๖ แห่งพระบรมราชวงศ์จักรีตลอดระยาเวลา ๑๕ ปีที่ทรงครองราชย์ (พ.ศ. ๒๔๕๓ – ๒๔๖๘) ทรงประกอบพระราชกรณียกิจเป็นอเนกประการ ทรงพระปรีชาสามารถทั้งด้านการทหาร การปกครอง การต่างประเทศ เช่น บทละคร บทความ สารคดี นิทาน นิยาย เรื่องสั้น และทรงใช้งานพระราชนิพนธ์เป็นสื่อแสดงแนวพระราชดำริในเรื่องต่างๆ   



                                                                  ลักษณะการแต่ง


      มงคลสูตรคำฉันท์ เป็นวรรณคดีที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นโดยทรงนำคาถาภาษาบาลีที่เป็น “มงคลสูตร” ซึ่งอยู่ในพระไตรปิฏกมาแปลแล้วทรงเรียบเรียงแต่งเป็นบทประพันธ์ร้อยกรองที่มีสัมผัสคล้องจอง ท่องจำง่าย และสามารถพรรณนาความได้อย่างไพเราะจับใจ โดยทรงใช้คำประพันธ์ ๒ ประเภท คือ กาพย์ฉบัง ๑๖ และอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑  โดยทรงลงท้ายคำประพันธ์ทุกบทด้วยข้อความเดียวกันว่า “ข้อนี้หละมงคล อดิเรกอุดมดี” ซึ่งมีที่มาจากคาถาภาษาบาลีที่ว่า เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ


เนื้อเรื่อง

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมา สมฺพุทฺธสฺสฯ

(๑) ยญฺจ ทฺวาทส วสฺสสานิ จินฺตยิสุ สเทวกา
สิบสองฉนำเหล่า นรอีกสุเทวา 
รวมกันและตริหา สิริมังคลาใด 

(๒) จิรสฺสํ จินฺตยนฺตาปิ เนว ชานิ๐สุ มงคลคลํ 
จกฺกวาฬสหสฺเสสุ ทสสุ เยน ตตฺตกํ
กาลํ โกลาหลํ ชาตํ ยาว พฺรหฺมนิเวสนา 
เทวามนุษย์ทั่ว พหุภพประเทศใน
หมื่นจักรวาลได้ ดำริสิ้นจิรังกาล
แล้วยังบ่รู้มง- คละสมมโนมาลย์
ด้วยกาละล่วงนาน บ่มิได้ประสงค์สม
ได้เกิดซึ่งโกลา หละยิ่งมโหดม
ก้องถึงณชั้นพรหม ธสถิตสะเทือนไป 

(๓) ยํ โลกนาโถ เทเสสิ เพิ่มเติม